วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่8 วันที่29/7/2556

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้กลับไปอ่านหนังสือไปวันถัดไป



                                               

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่7 วันที่28/7/2556

-          เรียนชดเชย วันอาสาฬหบูชา 
                   อบรมการทำสื่อ







วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่6 วันที่22/7/2256

                   ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด อาสาฬหบูชา


เกร็ดความรู้ วันอาสาฬหบูชา





วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่5 วันที่15/7/2556

-          อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นอาทิตยืที่แล้วให้คนที่เหลือไม่ได้นำเสนออาทิตย์ที่แล้วมานำเสนอของเล่นในอาทิตย์นี้
** งาน
-          ทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์และการทดลองวิทยาศาสตร์ เขียนพรีเซ๊นต์อาทิตย์หน้า ( สื่อเข้ามุมต้องใช้เศษวัสดุประดิษฐ์ได้จริง)
-          ** อาทตย์หน้าอาจารย์จะให้ลงสนามเพื่อทดลองและเล่นของเล่นของแต่ละคน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่4 วันที่8/7/2556


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) 





     หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้น   ขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎี ดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์         เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
        อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา

วีดีโอ อากาศมหัศจรรย์


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่3 1/7/2556

-          อาจารย์ สอบถามงานที่ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มกลับไปปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง

-          อาจารย์อธิบายเรื่องงานสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องความแตกต่าง การคิด วิธีการทำ การหาข้อเปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง จะต้องมีเกณฑ์ในการแยกและคิดหาข้อแตกต่างมาเพื่อการนำเสนอ



**  ท้ายชั่วโมง ดูvdo  เรื่องความของแสง