วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อการศึกษา

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจักกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ความสำคัญของการวิจัย


      การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยไืด้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขตของการวิจัย


 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย


       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน


 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกาาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


       ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 


        1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
        2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง


     การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาที รวม 24 โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบผู้วิเคราะห์เด็กปฐมวัย ( Pretest ) ก่อนการทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
3. ผู้วิจัยทำการทดลองด้วยแผนการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ( Posttest ) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
5. นำข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีกรารทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง


การวิเคราะห์ข้อมูล

   

      การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้


1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง


สรุปผลการวิจัย


       ผลจากการวิจัยมีดังนี้


1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


การอภิปรายผล


     จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัยในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่างๆ ประกอบได้ดังนี้

 1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาสศาสตร์นอกห้องเรียน ภายหลังการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการกระบวนการคิดทางด้านสติปัญยา วึ่งเด็กในวัย 3-5 ปี ธรรมชาติของเด็กคือ การอยากรู้อยากเห็น  ช่างสังเกต ช่างซักถาม ซึ่งเป็นพื่นฐานของการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 วึ่งอภิปรายผลได้ดังนี้

 2.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่

       สรุปผลได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่  เด็กๆสามารถรวบรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของโดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้นได้

 2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการหาความสัมพันธ์

        สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย กระตุ้นให้เด็กได้เกิดการลงมือปฏิบัติลงมือกระทำ โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก

                                 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทายาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัตืได้ด้วยตนเอง


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14 วันที่2/9/2556

 อาทิตย์นี้อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง


กลุ่มที่ 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส - โปร่งแสง - และทึบแสง


กลุ่มที่ 2 กล่องนำแสง


กลุ่มที่ 3 สัตว์ไต่เชือก


กลุ่มที่ 4 กีตาร์กล่อง



กลุ่มที่ 5 วงจรชีวิตของไก่และผีเสื้อ


กลุ่มที่ 6 เขาวงกต


กลุ่มที่ 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย