วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 23/09/56

สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ได้เข้ามาสอนการทำอาหารที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่ได้ให้นักศึกษาแต่กลุ่มได้เขียนแผนการทำอาหารการจัดประสบการณ์ไว้ว่า สัปดาห์นี้เราจะมาทำอารหารสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการทำแกงจืด โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ -.


ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

หมูบด
 เต้าหู้ไข่แบบหลอด 
น้ำซุป 
รากผักชี 
กระเทียม 
พริกไทยเม็ด
 ต้มหอม
 คื่นฉ่าย 
ซอสปรุงรส 
ซีอิ้วขาว 
น้ำตาลทราย 


วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

1.เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

2. หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้

3.ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

4.ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ 

5.ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ


รูปภาพการทำกิจกรรม

เตรียมอุปกรณ์ และ เริ่มการทำกิจกรรม















 เสร็จแล้วสำหรับการทำกิจกรรมประกอบอาหารในชั้นเรียนกลุ่มของดิฉัน


ครั้งที่ 17 16/09/56

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น (อ.เบียร์ ) เข้ามาสอนแทน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและได้แจกแผ่นกระดาษฟลิบช๊าตกลุ่มละ 1 แผ่น โดยให้สมาชิกในกลุ่มของแต่ละกลุ่มช่วยกันปรึกษาช่วยกันระดมความคิดกันภายในกลุ่ม ซึ่งแบ่งกลุ่มทำอาหารสำหรับเด็ก Cooking ให้นักศึกษาเขียนเป็นมายแม็บ

 - แผ่นแรก อาจารย์ได้อธิบายเริ่มถึงการพูดถึงอาหาร ถ้าเรานึกถึงการเข้าครัวไปทำอาหารเราจะนึกถึงอุปกรณ์ หรือ วัตถุอะไรในครัวและในการประกอบอาหารบ้าง






แผ่นที่สอง อาจารย์ได้แจกกระดาษฟลิบช๊าตอีกกลุ่มละ1แผ่น โดยทำเช่นเดิมคือการให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดปรึกษากันในเรื่องเราควรจะทำอาหารอะไรให้เด็กได้รับประทาน อาหารอะไรที่เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย และอาหารนี้มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร ในการประกอบอาหารนี้เราจะต้องใช้วุตถุดิบอะไรบ้าง อุปกรณ์ในการทำมีอะไรบ้าง




แผ่นที่สาม อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่ากลุ่มเรานั้นจะประกอบอาหารโดยที่ให้เราเขียนถึงอาหารนั้น โดยกลุ่มของดิฉันได้ตกลงแล้วว่าจะทำแกงจืดเป็นอาหารสำหรับเด็ก




แผ่นที่สี่ แผ่นสุดท้ายนี่จะเป็นการเขียนแผนการสอนทำ Cooking ว่าจะใช้วิธีใดสอนในระดับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมและให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี่ขึ้นมา โดยการทำอาหารนี่จะเป็นการใช้เทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นหลักโดยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน




สรุปแผ่นความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนในวันนี้ -.

เมื่อทุกกลุ่มทำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารของแต่ละกลุ่มเสร็จ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอชิ้นงานที่ได้จากการระดมสมองของสมาชิกในกลุ่มตนเอง







สุดท้ายเมื่อเพื่อทุกกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเสร็จ อาจารย์ได้ถามและให้นักศึกษาช่วยร่วมกันคิดทั้งห้องว่าสัปดาห์หน้าเราจะนำกิจกรรมการประกอบอาหารของกลุ่มไหนออกมาประกอบกัดกิจกรรมภายในชั้นเรียนของเราในสัปดาห์หน้า  โดยเพื่อนๆในห้องได้ตกลงและเสนอแกงจืด คือกลุ่มของดิฉัน
และสัปดาห์หน้ากลุ่มของดิฉันจะได้มาจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร แกงจืด ในชั้นเรียน

ครั้งที่ 16 15/09/56

 *** เรียนชดเชยอาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมานำเสนองานสื่อชองเข้ามุมทางวิทยาศาสตร์




ลุ่ม 1 ภาพสองมิติ



กลุ่ม 2 นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก




กลุ่ม 3 กล่องสีน่าค้นหา




กลุ่ม 4 รถลงหลุม



กลุ่ม 5 ลิงห้อยโหน


กลุ่ม 6 เวทีซูโม่กระดาษ



กลุ่ม 7 กระดาษเปลี่ยนสี


กลุ่ม 8 การเจริญเติบโตของสัตว์





วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อการศึกษา

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจักกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ความสำคัญของการวิจัย


      การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยไืด้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขตของการวิจัย


 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย


       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน


 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกาาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


       ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 


        1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
        2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง


     การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาที รวม 24 โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบผู้วิเคราะห์เด็กปฐมวัย ( Pretest ) ก่อนการทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
3. ผู้วิจัยทำการทดลองด้วยแผนการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ( Posttest ) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
5. นำข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีกรารทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง


การวิเคราะห์ข้อมูล

   

      การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้


1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง


สรุปผลการวิจัย


       ผลจากการวิจัยมีดังนี้


1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


การอภิปรายผล


     จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัยในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่างๆ ประกอบได้ดังนี้

 1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาสศาสตร์นอกห้องเรียน ภายหลังการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการกระบวนการคิดทางด้านสติปัญยา วึ่งเด็กในวัย 3-5 ปี ธรรมชาติของเด็กคือ การอยากรู้อยากเห็น  ช่างสังเกต ช่างซักถาม ซึ่งเป็นพื่นฐานของการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 วึ่งอภิปรายผลได้ดังนี้

 2.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่

       สรุปผลได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่  เด็กๆสามารถรวบรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของโดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้นได้

 2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการหาความสัมพันธ์

        สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย กระตุ้นให้เด็กได้เกิดการลงมือปฏิบัติลงมือกระทำ โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก

                                 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทายาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัตืได้ด้วยตนเอง


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14 วันที่2/9/2556

 อาทิตย์นี้อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง


กลุ่มที่ 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส - โปร่งแสง - และทึบแสง


กลุ่มที่ 2 กล่องนำแสง


กลุ่มที่ 3 สัตว์ไต่เชือก


กลุ่มที่ 4 กีตาร์กล่อง



กลุ่มที่ 5 วงจรชีวิตของไก่และผีเสื้อ


กลุ่มที่ 6 เขาวงกต


กลุ่มที่ 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่13 วันที่ วันที่26/8/2556

                     ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดงานมุธิตา
                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิกา สุสม

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่12 วันที่19/8/2556

  •    อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองเป็นกลุ่ม


1. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิตย์
2. แรงตึงผิว
3. จดหมาย
4. ไบข่จม ไข่ลอย
5. เป่าฟองสบู่
6. ขวดเป่าลูกโปร่ง
7. ลาวาในขวด
8. หลอดดูดไม่ขึ้น
9. เป่าลูกโปร่งในขวด
10. ไฟดับ
11. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
12. เทียนลอยน้ำ
13. โปร่งแสง ทึบแสง
14. กาวอากาศ
15. จดหมายล่องหน
16. แผ่นฟิมล์สีรุ้งจากน้ำยาล้างเล็บ






การทดสองวิทยาศาสตร์ขวดเป่าลูกโปร่ง

 

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่11 วันที่17/8/2556

 อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตตร์

1. รถพลังลม
2. ขลุ่ยหลอด
3. จรวดหลอด
4. กล่องหรรษา
5. ปืนยิงบอล
6. ถ้วยกระโดดได้
7. โทรศัพท์หลายสาย
8. จักจั่น
9.ไหมพรหมเต้นรำบำ
10. ป๋องแป๋ง

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่10 วันที่12/8/2556

                 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันแม่              


                                          

วันแม่แห่งชาติ 2556 ปีนี้ ลูก ๆ คิดและตั้งใจจะทำอะไรเพื่อตอบแทนพระคุณของแม่กันหรือยังคะ เราลองแต่งกลอนเพราะ ๆ กลอนซึ้ง ๆ หรือจะเลือกแต่งเป็นกลอนแปดซึ้ง ๆ เอาแบบเป็นกลอนซึ้ง ๆ จนน้ำตาไหลก็ได้  อย่างน้อยก็ให้คุณแม่ได้รู้ว่าเรารักท่านมากแค่ไหน และไม่ใช่เพียงแค่แต่งกลอนให้ท่านนะ คุณควรประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดีและไม่ทำความเดือนร้อน ความลำบากใจ รวมไปถึงความเครียดให้กับคุณแม่ด้วย จะเป็นของขวัญที่ดีเยี่ยมที่สุดสำหรับคุณแม่เลยล่ะ
การเป็นคนดี เป็นของขวัญที่ดีเยี่ยมและเป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกท่านต้องการจะได้รับจากลูกมากที่สุด วันแม่แห่งชาติ 2556 เรามาน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณแม่อันยิ่งใหญ่ ด้วยคำกลอนวันแม่ซึ้ง ๆ   มอบให้กับคุณแม่ทุกคนด้วยนะคะ
กลอนวันแม่
พระคุณแม่ยิ่งใหญ่กว่าใครผอง         แม่อุ้มท้องลูกรักนานหนักหนา
ให้กำเนิดเฝ้าเลี้ยงดูตลอดมา            ในโลกาหาใครมาเทียบทัน
วันเกิดลูกอกแม่เจ็บเหมือนเหน็บศร  แต่ก็ซ่อนความดีใจไม่เหหัน
น้ำตาแห่งความดีไหลเร็วพลัน           สุดตื้นตันดวงใจได้ลูกยา
นมสองเต้าของแม่แน่แนบจิต            แม่อุทิศเลือดเนื้อเพื่อลูกหนา
น้ำนมแม่กลั่นจากอกยกออกมา         ให้ลูกยาดื่มด่ำอย่างหนำใจ

กลอนวันแม่ซึ้ง ๆ 
รักอะไรไหนเทียบเปรียบรักแม่         ลูกประจักษ์แก่ใจหาใครเหมือน
ตั้งแต่เล็กแม่เราเฝ้าคอยเตือน           ไม่ลืมเลือนรักลูกด้วยผูกพันธ์
ลูกยื่นให้มะลิน้อยที่ร้อยรัก                 กราบที่ตักรักแม่ไม่แปรผัน
บอกแม่ว่ารักล้นพ้นรำพันธ์                 จะสร้างฝันให้แม่เห็นเป็นคนดี



                                   

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่9 วันที่5/8/2556

                   **     ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค     **



                                           

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่8 วันที่29/7/2556

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้กลับไปอ่านหนังสือไปวันถัดไป



                                               

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่7 วันที่28/7/2556

-          เรียนชดเชย วันอาสาฬหบูชา 
                   อบรมการทำสื่อ







วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่6 วันที่22/7/2256

                   ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด อาสาฬหบูชา


เกร็ดความรู้ วันอาสาฬหบูชา





วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่5 วันที่15/7/2556

-          อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นอาทิตยืที่แล้วให้คนที่เหลือไม่ได้นำเสนออาทิตย์ที่แล้วมานำเสนอของเล่นในอาทิตย์นี้
** งาน
-          ทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์และการทดลองวิทยาศาสตร์ เขียนพรีเซ๊นต์อาทิตย์หน้า ( สื่อเข้ามุมต้องใช้เศษวัสดุประดิษฐ์ได้จริง)
-          ** อาทตย์หน้าอาจารย์จะให้ลงสนามเพื่อทดลองและเล่นของเล่นของแต่ละคน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่4 วันที่8/7/2556


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) 





     หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้น   ขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎี ดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์         เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
        อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา

วีดีโอ อากาศมหัศจรรย์


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่3 1/7/2556

-          อาจารย์ สอบถามงานที่ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มกลับไปปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง

-          อาจารย์อธิบายเรื่องงานสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องความแตกต่าง การคิด วิธีการทำ การหาข้อเปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง จะต้องมีเกณฑ์ในการแยกและคิดหาข้อแตกต่างมาเพื่อการนำเสนอ



**  ท้ายชั่วโมง ดูvdo  เรื่องความของแสง

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่2 24/6/2556



อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 คน กลุ่มดิฉันได้กลุ่มที่4            
พัฒนาการทางสติปัญญา
ความเจริญงอกงามด้านความสามารถในการคิดของแต่ละบุคคล
 -พัฒนาขึ้นมาจากการมรปฎิสัมพันธ์(interaction) กับสภาพแวดล้อม
-  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดผลของการปฎิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตน (self )เพราะตอนแรกเด็กจะยังไม่สามารถแยกตนออกจากสิ่งแวดล้อมได้
สัมพันธ์การปฎิระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่องเพื่อเกิดความสมดุล
สัมพันธ์การปฎิระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา



กระบวนการปฎิสัมพันธ์ ประกอบด้วย 2 กระบวนการ



1.กระบวนการดูดซึม         เมื่อมนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบประสบการณ์ให
2.กระบวนการปรับโครงสสร้าง  การเปลี่ยนแปลงแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นความสามมารถการปรับโครงสร้างทางปัญญา
   -  การเรียนรู้เกิดจากการเล่นใยของสมองที่เชื่อมกัน
   - การทำให้เด็กคิดเพื่อเส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 5 ประการ 


1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1 วันที่17/6/2556

** อาจารย์พูดคุยสนทนากับนักศึกษาเรื่องการเข้าเรียนสาย และการขาดเรียนของนักศึกษา
 - เข้าสาย 15 นาที 3 ครั้ง ถือว่าขาด 1 ครั้ง

วิชานี้เป็นการเรียนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้กับเด็ก ซึ่งเราจะต้องฝึกคิดและปฎิบัติการจัดประสบการณ์ต้องมีการลงมือกระทำการสอน

วิทยาศาสตร์ นึกถึง อะไร ?!
   คือ เนื้อหา ทฤษฎี การทดลอง การประดิษฐ์  ธรรมชาติ สิ่งที่มีชีวิตรอบๆตัว และสิ่งที่ไม่มีชีวิต สายลม แสงแดด อาหาร กระบวนการต่างๆ สิ่งเหล่านี้รวมกันเป็นกระบวนการที่มีการปฏิบัติการ การประดิษฐ์  การประยุกต์ใช้ การระดมความคิดเห็นเช่นการทำ mind mapping

การเรียนการสอน
  คาดหวังว่าสุดท้ายที่นักศึกษาจะได้เรียนอะไรในรายวิชานี้บ้าง ( อาจารย์แจกกระดาษคนละ1แผ่น และให้เขียนใส่ลงในกระดาษที่แจกให้ )

- คือ ได้เรียนถึงการจัดประสบการณ์กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมให้ได้ตรงตามกับความสามารถของเด็ก



*** การเรียนการสอน ***