วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 23/09/56

สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ได้เข้ามาสอนการทำอาหารที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่ได้ให้นักศึกษาแต่กลุ่มได้เขียนแผนการทำอาหารการจัดประสบการณ์ไว้ว่า สัปดาห์นี้เราจะมาทำอารหารสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการทำแกงจืด โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ -.


ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

หมูบด
 เต้าหู้ไข่แบบหลอด 
น้ำซุป 
รากผักชี 
กระเทียม 
พริกไทยเม็ด
 ต้มหอม
 คื่นฉ่าย 
ซอสปรุงรส 
ซีอิ้วขาว 
น้ำตาลทราย 


วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

1.เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

2. หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้

3.ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

4.ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ 

5.ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ


รูปภาพการทำกิจกรรม

เตรียมอุปกรณ์ และ เริ่มการทำกิจกรรม















 เสร็จแล้วสำหรับการทำกิจกรรมประกอบอาหารในชั้นเรียนกลุ่มของดิฉัน


ครั้งที่ 17 16/09/56

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น (อ.เบียร์ ) เข้ามาสอนแทน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและได้แจกแผ่นกระดาษฟลิบช๊าตกลุ่มละ 1 แผ่น โดยให้สมาชิกในกลุ่มของแต่ละกลุ่มช่วยกันปรึกษาช่วยกันระดมความคิดกันภายในกลุ่ม ซึ่งแบ่งกลุ่มทำอาหารสำหรับเด็ก Cooking ให้นักศึกษาเขียนเป็นมายแม็บ

 - แผ่นแรก อาจารย์ได้อธิบายเริ่มถึงการพูดถึงอาหาร ถ้าเรานึกถึงการเข้าครัวไปทำอาหารเราจะนึกถึงอุปกรณ์ หรือ วัตถุอะไรในครัวและในการประกอบอาหารบ้าง






แผ่นที่สอง อาจารย์ได้แจกกระดาษฟลิบช๊าตอีกกลุ่มละ1แผ่น โดยทำเช่นเดิมคือการให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดปรึกษากันในเรื่องเราควรจะทำอาหารอะไรให้เด็กได้รับประทาน อาหารอะไรที่เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย และอาหารนี้มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร ในการประกอบอาหารนี้เราจะต้องใช้วุตถุดิบอะไรบ้าง อุปกรณ์ในการทำมีอะไรบ้าง




แผ่นที่สาม อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่ากลุ่มเรานั้นจะประกอบอาหารโดยที่ให้เราเขียนถึงอาหารนั้น โดยกลุ่มของดิฉันได้ตกลงแล้วว่าจะทำแกงจืดเป็นอาหารสำหรับเด็ก




แผ่นที่สี่ แผ่นสุดท้ายนี่จะเป็นการเขียนแผนการสอนทำ Cooking ว่าจะใช้วิธีใดสอนในระดับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมและให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี่ขึ้นมา โดยการทำอาหารนี่จะเป็นการใช้เทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นหลักโดยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน




สรุปแผ่นความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนในวันนี้ -.

เมื่อทุกกลุ่มทำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารของแต่ละกลุ่มเสร็จ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอชิ้นงานที่ได้จากการระดมสมองของสมาชิกในกลุ่มตนเอง







สุดท้ายเมื่อเพื่อทุกกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเสร็จ อาจารย์ได้ถามและให้นักศึกษาช่วยร่วมกันคิดทั้งห้องว่าสัปดาห์หน้าเราจะนำกิจกรรมการประกอบอาหารของกลุ่มไหนออกมาประกอบกัดกิจกรรมภายในชั้นเรียนของเราในสัปดาห์หน้า  โดยเพื่อนๆในห้องได้ตกลงและเสนอแกงจืด คือกลุ่มของดิฉัน
และสัปดาห์หน้ากลุ่มของดิฉันจะได้มาจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร แกงจืด ในชั้นเรียน

ครั้งที่ 16 15/09/56

 *** เรียนชดเชยอาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมานำเสนองานสื่อชองเข้ามุมทางวิทยาศาสตร์




ลุ่ม 1 ภาพสองมิติ



กลุ่ม 2 นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก




กลุ่ม 3 กล่องสีน่าค้นหา




กลุ่ม 4 รถลงหลุม



กลุ่ม 5 ลิงห้อยโหน


กลุ่ม 6 เวทีซูโม่กระดาษ



กลุ่ม 7 กระดาษเปลี่ยนสี


กลุ่ม 8 การเจริญเติบโตของสัตว์





วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อการศึกษา

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจักกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


ความสำคัญของการวิจัย


      การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยไืด้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป


ขอบเขตของการวิจัย


 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย


       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180 คน


 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกาาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทษวุวรรณภูมิ สมุทรปราการ  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


       ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 


        1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
        2. แบบทดสอบการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง


     การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาที รวม 24 โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบผู้วิเคราะห์เด็กปฐมวัย ( Pretest ) ก่อนการทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
3. ผู้วิจัยทำการทดลองด้วยแผนการกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ( Posttest ) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
5. นำข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีกรารทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง


การวิเคราะห์ข้อมูล

   

      การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้


1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง


สรุปผลการวิจัย


       ผลจากการวิจัยมีดังนี้


1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


การอภิปรายผล


     จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัยในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่างๆ ประกอบได้ดังนี้

 1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาสศาสตร์นอกห้องเรียน ภายหลังการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการกระบวนการคิดทางด้านสติปัญยา วึ่งเด็กในวัย 3-5 ปี ธรรมชาติของเด็กคือ การอยากรู้อยากเห็น  ช่างสังเกต ช่างซักถาม ซึ่งเป็นพื่นฐานของการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 วึ่งอภิปรายผลได้ดังนี้

 2.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่

       สรุปผลได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมู่  เด็กๆสามารถรวบรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันที่ได้จากการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบมาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของโดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้นได้

 2.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้านการหาความสัมพันธ์

        สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย กระตุ้นให้เด็กได้เกิดการลงมือปฏิบัติลงมือกระทำ โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสื่อธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก

                                 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทายาศาสตร์นอกห้องเรียนเป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัตืได้ด้วยตนเอง


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่14 วันที่2/9/2556

 อาทิตย์นี้อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง


กลุ่มที่ 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส - โปร่งแสง - และทึบแสง


กลุ่มที่ 2 กล่องนำแสง


กลุ่มที่ 3 สัตว์ไต่เชือก


กลุ่มที่ 4 กีตาร์กล่อง



กลุ่มที่ 5 วงจรชีวิตของไก่และผีเสื้อ


กลุ่มที่ 6 เขาวงกต


กลุ่มที่ 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่13 วันที่ วันที่26/8/2556

                     ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดงานมุธิตา
                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรณิกา สุสม