วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 23/09/56

สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ได้เข้ามาสอนการทำอาหารที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่ได้ให้นักศึกษาแต่กลุ่มได้เขียนแผนการทำอาหารการจัดประสบการณ์ไว้ว่า สัปดาห์นี้เราจะมาทำอารหารสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการทำแกงจืด โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ -.


ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

หมูบด
 เต้าหู้ไข่แบบหลอด 
น้ำซุป 
รากผักชี 
กระเทียม 
พริกไทยเม็ด
 ต้มหอม
 คื่นฉ่าย 
ซอสปรุงรส 
ซีอิ้วขาว 
น้ำตาลทราย 


วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

1.เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

2. หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้

3.ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

4.ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ 

5.ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ


รูปภาพการทำกิจกรรม

เตรียมอุปกรณ์ และ เริ่มการทำกิจกรรม















 เสร็จแล้วสำหรับการทำกิจกรรมประกอบอาหารในชั้นเรียนกลุ่มของดิฉัน


ครั้งที่ 17 16/09/56

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น (อ.เบียร์ ) เข้ามาสอนแทน โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและได้แจกแผ่นกระดาษฟลิบช๊าตกลุ่มละ 1 แผ่น โดยให้สมาชิกในกลุ่มของแต่ละกลุ่มช่วยกันปรึกษาช่วยกันระดมความคิดกันภายในกลุ่ม ซึ่งแบ่งกลุ่มทำอาหารสำหรับเด็ก Cooking ให้นักศึกษาเขียนเป็นมายแม็บ

 - แผ่นแรก อาจารย์ได้อธิบายเริ่มถึงการพูดถึงอาหาร ถ้าเรานึกถึงการเข้าครัวไปทำอาหารเราจะนึกถึงอุปกรณ์ หรือ วัตถุอะไรในครัวและในการประกอบอาหารบ้าง






แผ่นที่สอง อาจารย์ได้แจกกระดาษฟลิบช๊าตอีกกลุ่มละ1แผ่น โดยทำเช่นเดิมคือการให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดปรึกษากันในเรื่องเราควรจะทำอาหารอะไรให้เด็กได้รับประทาน อาหารอะไรที่เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย และอาหารนี้มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร ในการประกอบอาหารนี้เราจะต้องใช้วุตถุดิบอะไรบ้าง อุปกรณ์ในการทำมีอะไรบ้าง




แผ่นที่สาม อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่ากลุ่มเรานั้นจะประกอบอาหารโดยที่ให้เราเขียนถึงอาหารนั้น โดยกลุ่มของดิฉันได้ตกลงแล้วว่าจะทำแกงจืดเป็นอาหารสำหรับเด็ก




แผ่นที่สี่ แผ่นสุดท้ายนี่จะเป็นการเขียนแผนการสอนทำ Cooking ว่าจะใช้วิธีใดสอนในระดับเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมและให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี่ขึ้นมา โดยการทำอาหารนี่จะเป็นการใช้เทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นหลักโดยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน




สรุปแผ่นความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนในวันนี้ -.

เมื่อทุกกลุ่มทำแผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารของแต่ละกลุ่มเสร็จ อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอชิ้นงานที่ได้จากการระดมสมองของสมาชิกในกลุ่มตนเอง







สุดท้ายเมื่อเพื่อทุกกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเสร็จ อาจารย์ได้ถามและให้นักศึกษาช่วยร่วมกันคิดทั้งห้องว่าสัปดาห์หน้าเราจะนำกิจกรรมการประกอบอาหารของกลุ่มไหนออกมาประกอบกัดกิจกรรมภายในชั้นเรียนของเราในสัปดาห์หน้า  โดยเพื่อนๆในห้องได้ตกลงและเสนอแกงจืด คือกลุ่มของดิฉัน
และสัปดาห์หน้ากลุ่มของดิฉันจะได้มาจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร แกงจืด ในชั้นเรียน

ครั้งที่ 16 15/09/56

 *** เรียนชดเชยอาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมานำเสนองานสื่อชองเข้ามุมทางวิทยาศาสตร์




ลุ่ม 1 ภาพสองมิติ



กลุ่ม 2 นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก




กลุ่ม 3 กล่องสีน่าค้นหา




กลุ่ม 4 รถลงหลุม



กลุ่ม 5 ลิงห้อยโหน


กลุ่ม 6 เวทีซูโม่กระดาษ



กลุ่ม 7 กระดาษเปลี่ยนสี


กลุ่ม 8 การเจริญเติบโตของสัตว์